ระบบ POS
(สำหรับท่านที่ไม่ต้องการใช้โปรแกรม POS ให้ข้ามบทนี้ไปได้เลย)
POS (Point Of Sales) โปรแกรมขายหน้าร้าน
Hardware สำหรับระบบ POS ประกอบด้วย
1. คอมพิวเตอร์
2. เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ/ใบกำกับฯ อย่างย่อ (Slip Printer)
3. ลิ้นชักเก็บเงิน (Cash Drawer)
4. จอแสดงยอดเงินสำหรับลูกค้า (Customer Display)
5. เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner)
ระบบ POS ใน Civa นั้น รองรับทั้งระบบ BARCODE และ Touch Screen ให้ท่านเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับประเภทธุรกิจ
ตัวอย่างหน้าจอหลักในโปรแกรม POS
โปรแกรม
POS ในแบบ
Civa
· ไม่ต้องประมวลผลปิดสิ้นวัน (Day End Process)
· ตัดสต็อกทันทีเมื่อขาย
· ให้ส่วนลดได้หลายชั้น
· มีระบบส่วนลดสำหรับสมาชิก
· ดูประวัติการซื้อลูกค้าได้
· สรุปยอดแยกตามพนักงาน
· รองรับระบบทัชสกรีน
· ใช้งานง่าย
การเข้าสู่โปรแกรม
หลังจากที่ติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ท่านจะเห็น Short Cut 2 ตัวที่ Desktop ดังภาพ
Double Click ที่ Icon POS จะพบกับหน้าจอให้เลือกฐานข้อมูล
คลิก Icon ข้อมูลตัวอย่าง
เนื่องจาก Civa ได้เตรียมข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ข้อมูลสินค้า ลูกค้า ผู้จำหน่าย พนักงาน .. เพื่อความสะดวกในการทดลองใช้โปรแกรม
หน้าจอล็อคอิน
ในช่องรหัสพนักงาน พิืมพ์ 001 กดปุ่ม Enter พิมพ์ 001 กดปุ่ม Enter
โปรแกรมจะแสดงวันที่ทำการและจำนวนบิลให้ยืนยันอีกครั้ง กดปุ่ม Enter
หน้าจอ Activate License
สำหรับท่านที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน ท่านจะพบกับหน้าจอนี้ทุกครั้งเมื่อเข้าสู่ระบบ
ในส่วนของ Edition Select ให้เลือก Enterprise
คลิกปุ่ม Evaluate เพื่อผ่านหน้าจอนี้ไปได้เลย
** หมายเหตุ **
สำหรับท่านที่ตั้งใจจะลงทะเบียนในอิดิทชั่นอื่น ๆ เนื่องจากไม่ได้คุณสมบัติเต็มทั้งระบบ ท่านก็สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง
ฟังค์ชันการใช้งานโปรแกรม POS
การใช้งานโปรแกรม POS จะเน้นที่การใช้คีย์บอร์ดมากว่าใช้เม้าส์ เพื่อความรวดเร็วในการขายสินค้า แต่บางฟังค์ชันอาจจะไม่มีแป้นลัด จึงอาจจะต้องใช้เม้าส์คลิืกร่วมด้วย
รายการ
รายการสินค้า F5
เปลี่ยนราคา F6
ส่วนลดรายการ F7
ยกเลิกรายการ F9
เบิ้ลรายการ F10
เปลี่ยนราคาที่ (+) F2
เปลี่ยนราคาที่ (-) F3
เปลี่ยนจำนวน *
Log Off Alt+X
เอกสาร
พักบิล
ต่อบิลพัก
คัดลอกบิล
ยกเลิกบิล Delete
รับคืนสินค้า F12
รหัสลูกค้า Home
รหัสพนักงาน PageDown
รับชำระ
รับชำระ Enter
ทั่วไป
เปิดลิ้นชัก Insert
นับเงินในลิ้นชัก Shift+F1
นำเงิืนเข้าลิ้นชัก Shift+F2
นำเงินออกจากลิ้นชัก Shift+F3
Quick Sales
แผงสัมผัส
Touch Panel Manage
บิลขาย
สรุปยอด PageUp
ลูกค้า Ctrl+M
เรียนรู้โปรแกรมจากตัวอย่าง
หน้าจอส่วนใหญ่ในโปรแกรม POS จะใช้ปุ่ม Enter และ Esc เป็นหลัก โดย
ปุ่ม Enter เป็นการยืนยัน
ปุ่ม Esc เป็นการยกเลิกและออกจากหน้าจอนั้น ๆ
ฟังค์ชันการใช้งานในโปรแกรม POS นั้น ท่านสามารถกำหนดสิทธิให้กับพนักงานแต่ละคนได้ หรือ จะปิดฟังค์ชันนั้น ๆ ไม่ให้ใช้ไปเลยก็ได้ ซึ่งจะอธิบายในภายหลัง
ทดลองขายแบบง่ายที่สุด
1. กดปุ่ม F5 โปรแกรมจะแสดงรายการสินค้า ใช้ปุ่ม ลูกศร เลือกรายการที่ต้องการ กดปุ่ม Enter
2. ที่หน้าจอหลัก กดปุ่ม Enter เพื่อรับชำระเงิน
3. กดปุ่ม Enter ไปเรื่อย ๆ จนจบบิล
ทดลองฟังค์ชันเกี่ยวกับรายการสินค้า
กดปุ่ม
F5 โปรแกรมจะแสดงรายการสินค้า
ใช้ปุ่ม ลูกศร เลือกรายการที่ต้องการ กดปุ่ม Enter
เบิ้ลรายการ
กดปุ่ม F10 โปรแกรมจะเบิ้ลรายการสินค้าให้
เปลี่ยนจำนวน
กดปุ่ม
* โปรแกรมจะขึ้นหน้าจอให้ป้อนจำนวนใหม่
แล้วกดปุ่ม Enter
เปลี่ยนราคา
กดปุ่ม F6 โปรแกรมจะขึ้นหน้าจอให้ป้อนราคาใหม่
แล้วกดปุ่ม Enter
การป้อนราคาเมื่อขายนั้น
เหมาะกับสินค้าประเภทฝากขาย หรือ สินค้าที่ไม่มีราคาแน่นอน
เปลี่ยนราคาที่ (+)
กดปุ่ม F2 โปรแกรมจะเปลี่ยนราคาในสู่ลำดับที่สูงขึ้น
โดยปกติสินค้าจะมีได้ถึง 4 ราคาขาย และเมื่อขายสินค้าโปรแกรมจะดึงราคาที่ 1 ขึ้นมาก่อน
เปลี่ยนราคาที่ (-)
กดปุ่ม F3 โปรแกรมจะเปลี่ยนราคาในสู่ลำดับที่ต่ำลงขึ้น
ยกเลิกรายการ
กดปุ่ม F9 โปรแกรมเข้าสู่โหมดการยกเลิก (Void) รายการสินค้าที่ในบิล ให้ใช้ปุ่มลูกศร เลื่อนไปยังรายการที่ต้องการยกเลิก แล้วกดปุ่ม Enter หรือ Esc ถ้าเปลี่ยนใจไม่ยกเลิกแล้ว โดยโปรแกรมจะสร้างรายการใหม่เป็นยอดติดลบเพื่อหักล้างกับรายการที่ยกเลิก เนื่องจากในโปรแกรม POS นั้นเมื่อสแกนสินค้าเข้าไปแล้วเครื่องจะพิมพ์รายการออกทางเครื่องพิมพ์ทันทีเพื่อไม่ให้ลูกค้าต้องรอนานเมื่อจบบิล ฉะนั้นการยกเลิกรายการจึงจำเป็นจะต้องสร้างเป็นรายการปรับปรุงแทน
อย่าเพิ่งงง.. นะครับ..
ขายแบบมีส่วนลด
ส่วนลดในโปรแกรม POS นั้น จะมี 2 ประเภทคือ ส่วนลดรายการสินค้า และ ส่วนลดท้ายบิล
1. กดปุ่ม F5 โปรแกรมจะแสดงรายการสินค้า ใช้ปุ่ม ลูกศร เลือกรายการที่ต้องการ กดปุ่ม Enter
2. กดปุ่ม F7 จะขึ้นหน้าจอให้้ป้อนส่วนลด ให้พิืมพ์ 10 กดปุ่ม Enter
3. ที่หน้าจอหลัก กดปุ่ม Enter เพื่อรับชำระเงิน
4.
ที่หน้าจอรับชำระเงิน
กดปุ่ม F7 จะขึ้นหน้าจอให้้ป้อนส่วนลด
ให้พิืมพ์ 5 กดปุ่ม Enter
การให้ส่วนลดแบบขั้นบันได
ท่านสามารถป้อนส่วนลดในรูปแบบ 10+5 หมายถึง 10.00%+5.00% โปรแกรมจะลด
10.00% แล้วค่อยลดอีก 5.00% หรือ
ลดเป็น % ร่วมกับลดเป็นเงินสดก็ได้ เช่น 10+5.
สังเกตว่าส่วนลดที่เป็นเงินสด จะต้องพิมพ์จุดตามหลังด้วย
เพื่อบอกโปรแกรมว่าไม่ใช่ส่วนลด %
10+5 หมายถึง 10.00%+5.00%
10+5. หมายถึง 10.00%+5.00
การให้ส่วนลดแบบขั้นบันไดนั้น ทำได้ทั้งส่วนลดรายการสินค้าและส่วนลดท้ายบิล
ทดลองฟังค์ชันเกี่ยวกับเอกสาร (บิลที่จบไปแล้ว)
การพักบิล
1. กดปุ่ม F5 โปรแกรมจะแสดงรายการสินค้า ใช้ปุ่ม ลูกศร เลือกรายการที่ต้องการ กดปุ่ม Enter
2. คลิกเมนู เอกสาร >> พักบิล โปรแกรมจะพักบิลใบนี้ทันที
3. จากนั้นให้ท่านลองขายอีก 1 บิลแล้วจบบิลให้เรียบร้อย
4. สังเกตว่าเมื่อจบบิลแล้ว โปรแกรมจะแสดงหน้าจอรายการบิลที่ถูกพักไว้ขึ้นมาให้ท่านทุกครั้ง ถ้าท่านยังไม่ต้องการดึงบิลที่พักขึ้นมาขายต่อให้กดปุ่ม Esc เพื่อปิดหน้าจอไปก่อน
การต่อบิลพัก
1. คลิกเมนู เอกสาร >> ต่อบิลพัก โปรแกรมจะแสดงหน้าจอรายการบิลที่ถูกพักไว้ขึ้นมาให้ท่านเลือกเพื่อทำการขายต่อ
2. ให้ทำการขายต่อแล้วจบบิลใบนี้
ปกติการพักบิลจะใช้ได้หลายกรณี เช่น ลูกค้าขอให้พักการเข้าบิล เพื่อกลับไปนำสินค้ามาเพิ่มและเพื่อไม่ให้เสียเวลา พนักงานก็จะพักบิลและขายให้กับลูกค้าท่านอื่นก่อน และเมื่อลูกค้ากลับมาก็จะดึงบิลที่พักไว้ขึ้นมาขายต่อ หรือ อาจจะประยุกต์กับร้านอาหารก็ได้ เพราะในธุรกิจร้านอาหารนั้นลูกค้าจะสั่งอาหารเรื่อย ๆ โดยจะชำระเงินเมื่อทานเสร็จ พนักงานก็จะดึงบิลที่พักขึ้นมาบันทึกรายการที่ลูกค้าสั่งจากนั้นก็พักบิลต่อ จนกระทั่งลูกค้าชำระเงิน
การคัดลอกบิล
การยกเลิกบิลทำได้ 2 กรณี คือ
· ยกเลิกบิลที่ยังอยู่ระหว่างขาย (ยังไม่จบบิล)
· ยกเลิกบิลที่จบไปแล้ว
คลิกปุ่ม ยกเลิกบิล บนแถบเครื่องมือทั่วไป หรือกดปุ่ม Delete ถ้าเป็นบิลที่อยู่ระหว่างขาย สามารถใช้ปุ่ม Esc ก็ได้
ถ้าเป็นการยกเลิกที่อยู่ระหว่างการขายนั้น โปรแกรมจะแสดงหน้าจอให้ยืนยันการยกเลิก
แต่ถ้าต้องการยกเลิกบิลที่จบไปแล้ว โปรแกรมจะแสดงหน้าจอให้เลือกบิลที่ต้องการยกเลิก ให้ใช้ปุ่มลูกศรเลือกบิลที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Enter
โปรแกรมจะให้ยืนยันเลขที่บิลที่ยกเลิกให้คลิกปุ่ม Yes
การรับคืนสินค้า
การรับคืนสินค้าจะมี
2 ลักษณะ คือ
ขั้นตอนการทำรับคืนสินค้า
** หมายเหตุ **
การรับคืนสินค้านั้น
โปรแกรมจะบังคับรับคืนเป็นเงินสดเท่านั้น
ถึงแม้ว่าตอนที่ลูกค้าซื้อจะชำระด้วยบัตรเครดิตก็ตาม เพราะในทางปฏิบัติเราไม่สามารถนำบัตรเครดิตลูกค้ามารูดคืนได้
การรับคืนสินค้าจะเป็นการลดยอดขายของวันที่ลูกค้านำสินค้ามาคืน และสินค้าจะกลับคืนเข้าสต็อก
รหัสพนักงาน
จากตัวอย่างที่ผ่านมาจะเห็นว่ารหัสพนักงานที่ขายจะเป็น 001 ทุกบิล
เนื่องจากเราล็อคอินเข้าระบบด้วยรหัส 001 นั่นเอง
พนักงานในโปรแกรม POS นั้นจะมี 2
ลักษณะคือ
แคชเชียร์หมายถึงผู้ที่เก็บเงินในระบบ POS หรือผู้ที่บันทึกการขายนั่นเอง
พนักงานขายจะหมายถึง พนักงานที่เป็นคนขายสินค้าให้กับลูกค้าในแต่ละบิล (เชียร์ลูกค้าให้ซื้อ)
บางครั้งแคชเชียร์กับพนักงานขายอาจจะเป็นคนเดียวกันก็ได้ (เพราะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันอยู่แล้ว)
ยกตัวอย่าง ธุรกิจประเภทมินิมาร์ท จะไม่สนใจพนักงานขาย จะสนใจแต่ยอดขายแยกตามแคชเชียร์เท่านั้น แต่ถ้าเป็นธุรกิจประเภทเครื่องสำอาง จะไม่สนใจแคชเชียร์ จะสนใจแต่ยอดขายแยกตามพนักงานขาย เพราะต้องการนำไปคิดคอมมิชชั่น
รหัสแคชเชียร์ หมายถึง รหัสที่ล็อคอินเข้าสู่้ระบบขาย POS
รหัสพนักงานขาย หมายถึง รหัสที่ป้อนในแต่ละบิลที่ขาย เพื่อบันทึกว่าบิลใบนี้เป็นยอดขายของใคร
การป้อนรหัสพนักงาน
กดปุ่ม PageDown โปรแกรมจะแสดงหน้าจอให้ป้อนรหัสพนักงาน ให้ท่านลองป้อน 002 แล้วกดปุ่ม Enter
เมื่อป้อนรหัสพนักงานแล้ว ให้ลองทำการขาย สังเกตว่ายอดขายจะเป็นของพนักงานรหัส 002
ฉะนั้นท่านจะเห็นว่าการบันทึกรหัสพนักงานในแต่ละบิลนั้น กดปุ่ม PageDown เพื่อมาป้อนรหัสทุกครั้งก่อนเปิดบิลขาย ซึ่งอาจจะทำให้เสียเวลา เรามีวิธีที่ง่ายกว่านั้น
ลองทำตามขั้นตอนดังนี้
ขณะนี้ท่านได้กำหนดให้โปรแกรม POS แสดงหน้าจอถามรหัสพนักงานทุกครั้งโดยอัตโนมัติ
ให้ท่านออกจากโปรแกรม POS แล้วเรียกเข้าใหม่อีกครั้ง จากนั้นให้ทดลองขาย
รหัสลูกค้า
สำหรับธุรกิจที่ต้องการบันทึกประวัติการซื้อของลูกค้า หรือ ทำระบบสมาชิก
ลองทำตามขั้นตอนดังนี้
ลูกค้ามีบัตรสมาิชิก
กรณีลูกค้ามีบัตรสมาิชิกท่านสามารถป้อนเลขบัตรสมาชิกที่หน้าลูกค้า แล้วกดปุ่ม Enter ได้เลย
ลูกค้าใหม่ยังไม่มีชื่อในระบบ
กรณีที่ลูกค้ายังไม่มีชื่อในระบบ
ท่านสามารถคลิกปุ่ม F8
สร้างลูกค้าใหม่ เพื่อป้อนชื่อ และบัตรสมาชิก (ถ้าสมัครสมาชิกด้วย)
คลิกปุ่ม ตกลง โปรแกรมจะเพิ่มข้อมูลลูกค้าใหม่นี้ลงในฐานข้อมูลอัตโนมัติ เมื่อท่านจบบิล แล้วมีเวลา ค่อยไปป้อนรายละเอียดอื่น ๆ ของลูกค้า อาทิ ที่อยู่ เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดในเรื่องการทำระบบสมาชิก การให้ส่วนลดบัตรสมาชิก สามารถศึกษาได้ในบท ระบบลูกค้าสัมพันธ์
ทดลองฟังค์ชันทั่วไป
การตรวจสอบบิลขาย
คลิกปุ่ม
บิลขาย บนแถบเครื่องมือทั่วไป โปรแกรมจะแสดงหน้าจอบิลขายของวันนี้
ท่านสามารถตรวจสอบบิลย้อนหลังได้ โดยเลือกวันที่ ที่ด้านบนของหน้าจอ หรือ
ค้่นหาบิลตามเลขที่ก็ได้
สอบถามยอดขาย
คลิกปุ่ม สรุปยอด บนแถบเครื่องมือทั่วไป โปรแกรมจะแสดงยอดขายสรุปของวันนี้ โดยแยกยอดขายตามพนักงานให้ด้วย
เงินในลิ้นชัก
นอกเหนือจากการขายสินค้าแล้ว
ท่านยังจะต้องมีการนำเงินเข้า-นำเงินออกจากลิ้นชัก เช่น
การนำเงินเข้าลิ้นชักไว้เพื่อทอน การนำเงินออกเมื่อมีเงินสดในลิ้นชักมากเกินไป
หรือการเปิดลิ้นชักที่ไม่ได้เกิดจากการขาย เช่น ลูกค้าขอแลกเงิน
การเปิดลิ้นชัก
คลิกเมนู
ทั่วไป >>
เปิดลิ้นชัก หรือ กดปุ่ม Insert ลิ้นชักจะเปิดออก
นับเงินในลิ้นชัก
คลิกเมนู
ทั่วไป >>
เปิดลิ้นชัก หรือ กดปุ่ม Shift+F1 โปรแกรมจะแสดงยอดเงินในลิ้นชัก
ยอดเงินในลิ้นชักนี้ อาจจะไม่เท่ากับยอดขาย เพราะว่ามีการบวกยอดการนำเงินเข้าเพื่อทอนและหักยอดการนำเงินออกไว้ด้วย
ยอดเงินในลิ้นชักนี้จะถูกล้างทิ้ง เมื่อเปิดการขายของวันใหม่
นำเงิืนเข้าลิ้นชัก
คลิกเมนู ทั่วไป >> นำเงิืนเข้าลิ้นชัก หรือ กดปุ่ม Shift+F2 โปรแกรมจะขึ้นหน้าจอให้ป้อนจำนวนเงินที่จะนำเข้าลิ้นชัก
เมื่อป้อนจำนวนเงินแล้วกดปุ่ม Enter ยอดเงินในลิ้นชักจะเ้พิ่มขึ้น
นำเงินออกจากลิ้นชัก
คลิกเมนู ทั่วไป >> นำเงินออกจากลิ้นชัก หรือ กดปุ่ม Shift+F3 โปรแกรมจะขึ้นหน้าจอให้ป้อนจำนวนเงินที่จะนำออกจากลิ้นชัก
เมื่อป้อนจำนวนเงินแล้วกดปุ่ม Enter ยอดเงินในลิ้นชักจะลดลง
การออกจากระบบ และ การนำส่งเงิน
เมื่อต้องการออกจากระบบ หลังจบการขายทุกสิ้นวัน ให้คลิกปุ่ม Log Off
และถ้าต้องการพิมพ์ใบนำส่งเงินด้วย ให้กำหนดตัวเลือกในโปรแกรม ICS ดังนี้
ขณะนี้ท่านได้กำหนดให้โปรแกรม POS แสดงหน้าจอพิมพ์ใบนำส่งเงินทุกครั้งที่ออกจากโปรแกรม POS
ให้ท่านออกจากโปรแกรม POS แล้วเรียกเข้าใหม่อีกครั้ง และให้ลองคลิกปุ่ม Log Off
โปรแกรมจะถามท่านว่าต้องการพิมพ์รายงานการนำส่งเงิืนหรือไม่
ถ้าต้องการคลิกปุ่ม Yes ไม่ต้องการ คลิกปุ่ม No
คลิกปุ่ม Yes จะัขึ้นหน้าจอ
ลองป้อนจำนวนธนบัตรแต่ละประเภท โปรแกรมจะคำนวณยอดเงินให้อัตโนมัติ
ใบนำส่งเงินนั้นเป็นเพียงเครื่องมือในการช่วยนับเงินให้ท่านเท่านั้น
เมื่อป้อนจำนวนธนบัตรเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม F10 โปรแกรมจะพิมพ์ใบนำส่งเงินออกทางเครื่องพิมพ์
โดยปกติแคชเชียร์จะนำใบส่งเงินนี้มัดรวมไปกับเงินที่นำส่ง